รอบรู้สมุนไพรไทย –


December 26, 2012

สมุนไพรบำรุงดวงตา

Category: Uncategorized – noum77 4:49 am

สมุนไพรบำรุงดวงตา

อาหารเสริมบำรุงสายตา กับสุขยอด ผัก ผลไม้

ผู้หญิงหลาย ๆ คนในสมัยนี้อาจจะมีปัญหาด้านความล้าของสายตาจากการทำงานต่าง ๆ จนเป็นเหตุ ให้อาจจะมีปัญหาด้านสายตา หรือ ปัญหาตาแข็ง ตาแห้ง หรือ แม้แต่ดวงตาเกิดอักเสพได้ง่าย ดังนั้นวันนี้เราขอแนะนำอาหารเพื่อการบำรุงสายตาให้สดใสสุขภาพดีกับเหล่าสุดยอดผักและผลไม้ที่ช่วยในการบำรุงสายตากัน

 

ผักเคล หรือ กะหล่ำปลีชนิดสีเขียวเข้ม , บล็อคโครี่ ช่วยบำรุงสายตาเพราะมีคุณประโยชน์คือให้วิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาให้มีประกายสดใส และ มีเบต้าแคโรทีนช่วยในการต้านโรคมะเร็งอีกด้วย อีกทั้งยังมีวิตามินซี และเส้นใยอาหารช่วยในการป้องกันโลหิตจาง เรียกว่าเป็นผักสาระพัดประโชยน์จริง ๆ

 

แคนตาลูป และ น้ำเต้า นั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ช่วยชะลอการเสื่อมถอยของเลนส์ตา ช่วยในการบำรุงสายตา และยังป้องกันการเกิดโรคต้อกระจกได้อีกด้วย

ถั่วสีน้ำตาลแดง นั้นเพรียบพร้อมไปด้วยสังกะสีที่ช่วยในการบำรุงสายตา อีกทั้งวิตามินเอก็เป็นส่วนช่วยปกป้องเยื่อชั้นในของลูกตา

ส้ม มะเขือเทศ และพริกหวาน นั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก อีกทั้งช่วยในการไหลเวียนเลือดในดวงตานับว่ามีประโยชน์ช่วยในการบำรุงสายตาเป็นอย่างยิ่งนับเป็นอีกตัวเลือกที่ดีจริง ๆ

อาหารเสริมบำรุงสายตากลุ่มธัญพืช

เหล่าธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อย พวกข้าวกล้อง ถั่วเมล็ดแห้ง งา ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาเล่ย์ ที่อุดมด้วยวิตามินอี วิตามินบีรวม แร่ธาตุต่างๆ และใยอาหาร มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งช่วยปกป้องการเสื่อมสภาพของเซลล์ เสริมสร้างระบบประสาทและเซลล์เม็ดเลือดแดงให้แข็งแรงสมบูรณ์

จากงานวิจัยได้ค้นพบว่าการเกิดของโรคจอประสาทตาเสื่อมมาจากค่าดัชนีน้ำตาลที่สูงอีกทั้ง Macular หรือจุดกลางรับภาพจอประสาทตานั้นเป็นส่วนที่ไวต่อการมองเห็นมากที่สุด ดังนั้นการบริโภคธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อยเป็นประจำ ก็จะสามารถช่วยให้การเกิดของโรคจอประสาทตาเสื่อมลดลงได้ถึง 8%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ และ วิชาการ.คอม

ที่มา http://www.n3k.in.th

December 21, 2012

สมุนไพรสรรพคุณรักษาเเละบำรุงไต

Category: Uncategorized – noum77 7:50 am

สมุนไพรสรรพคุณรักษาเเละบำรุงไต

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยนำเห็ดหลินจือมารักษาไตเรื้อรัง ระบุเห็ดหลินจือ ช่วยฟื้นฟูการทำงานของไต ทางเลือกใหม่แทนกินยากดภูมิคุ้มกัน แพทย์จุฬาฯศึกษากลไกการเกิดภาวะไตวายในร่างกาย พร้อมสร้างทางเลือกใหม่รักษาโรคไตเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ เผยผลทดสอบเบื้องต้นช่วยผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ ระบุสรรพคุณสร้างสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการไตอักเสบ ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพระบบไหลเวียนโลหิตและเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต

รศ.พญ.ดร. นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 – 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน

หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้

นัก วิจัย กล่าว ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis จะมีอาการเนื้อตัวบวมอย่างเห็นได้ชัด และหากตรวจเลือดและปัสสาวะจะพบภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน ส่งผลให้โปรตีนในเลือดต่ำ ปริมาณการหมุนเวียนในเลือดไม่เพียงพอ เลือดในร่างกายพร่อง ข้นหนืด ก่อให้เกิดการอุดตัน และยังมีภาวะเผาผลาญไขมันผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง ภาวะต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ไตมีการอักเสบ เสื่อม และถูกทำลายจนเข้าสู่ภาวะไตวายในท้ายที่สุด

หลัง จากเข้าใจถึงกลไกของสาเหตุโรคไตแล้ว รศ.พญ.ดร.นริสาจึงได้นำเอาสารสกัดจากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) มาทดลองกับผู้ป่วย เนื่องจากมีสรรพคุณในการช่วยฟื้นฟูระบบสมดุลของภูมิคุ้มกัน พร้อมทั้งยังได้รักษาร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดเลือดด้วย

รศ.พญ.ดร. นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 – 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน

หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้

สำหรับ อาสาสมัครที่เข้ารับการรักษา เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะต่อเนื่อง 5 – 10 ปี กำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หลังจากรักษาได้ราว 1 ปี พบว่าภาวะเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ป่วยมีการทำงานของไตดีขึ้น ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลง และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

“ปริมาณ ของสารสกัดจากเห็ดหลินจือที่มีคุณสมบัติในการรักษาได้นั้น จะอยู่ประมาณ 750 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด ซึ่งจะเข้าไปช่วยฟื้นฟูกลศาสตร์ไหลเวียนของไตให้ดีขึ้น เพราะเลือดจะไหลเข้าสู่ไตได้มากขึ้น ทำให้ความดันภายในไตลดลง”

นอก จากนี้การบริโภคสารสกัดเห็ดหลินจือในปริมาณดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือผลข้างเคียงใดๆ ด้วย เนื่องจากเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีเพดานการบริโภคที่สูงมาก

รศ.พญ.ดร. นริสา ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตว่าผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ บริโภคและการดำเนินชีวิตโดยให้ความสำคัญในเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย การกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่จำกัด ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ดื่มน้ำให้มากเพียงพอเพื่อไม่ให้ไตขาดเลือด ที่สำคัญคือควรงดสูบบุหรี่

ทำไมเห็ดหลินจือถึงรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้

นพ. บรรเจิด ตันติวิท ได้เขียนหนังสือ “หลิงจือ กับ ข้าพเจ้า” ซึ่งอธิบายหลักการทำงานของเห็ดหลินจือ และประสบการณ์ในการรักษาเห็ดหลินจือให้แก่ผู้ป่วย ได้อธิบายถึงการทำงานของเห็ดหลินจือว่าทำไมถึงรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้

ไต ที่อักเสบจะมีใยแผลเป็นที่ไต นานเข้าจะหดรัดไต ทำให้ไตเล็กลง รวมทั้งยังรัดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้ไตทำงานไม่ได้ ไตเกิดภาวะขาดเลือด

เห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้ เพราะ

เห็ด หลินจือจะช่วยละลายใยแผลเป็นให้ อ่อนตัว ไม่ให้ไปรัดเส้นเลือดที่เลี้ยงไต เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงไตได้ จึงทำให้ไตทำงานได้ดีขึ้น

เห็ด หลินจือมีสารนิวคลีโอไชด์ มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือด ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายจนทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

เห็ดหลินจือเป็นแอนติออกซิแดนต์สามารถขจัดอนุมูลอิสระได้

เห็ด หลินจือมีโปรตีน Lz-8 ที่ปรับระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเป็นปกติ รวมทั้งมีสารเยอรมาเนียมและสารโพลีแซคคาไรด์ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแรงอีกด้วย

ที่มา http://www.thaiherbweb.com ภาพคลิปจากอินเตอร์เน็ต

December 11, 2012

ตะไคร้มีประโยชน์อย่างไร

Category: Uncategorized – noum77 3:59 am

ตะไคร้มีประโยชน์อย่างไร

นอกจากทำต้มยำอร่อยเเล้วยังสามารถนำมาเป็นน้ำดื่มไ้ด้อีกนะครับ ความจริงเเล้วอาหารเสริมเนี่ยไม่จำเป็นหรอกครับกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็พอครับ ผมว่าเเค่นี้ก็เพียงพอเเล้ว เเต่อาหารต้องหลากหลายครับ ไม่ใช่กินอยู่อย่างนั้นอย่างเดียว

ส่วนผสม

ตะไคร้ทั้งต้นและใบ 1 กิโลกรัม
(ต้น 600 กรัม ใบ 400 กรัม)

น้ำเปล่า 4 ลิตร
น้ำตาลทราย 400-700 กรัม
กรดมะนาว 0.5-1 กรัม

วิธีทำ

ล้างตะไคร้ให้สะอาด ตัดเป็นท่อนสั้นๆ นำไปต้มกับน้ำเปล่า 4 ลิตร ประมาณ 5-10 นาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น เพื่อกันไม่ให้มีเศษตะกอนของใบตะไคร้

ผสมน้ำตาลทราย คนจนน้ำตาลละลายหมด ถ้าชอบรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย ให้เติมกรดมะนาว เพื่อความชุ่มคอชื่นใจ แล้วกรองอีกครั้ง ตั้งให้เดือด 1-2 นาที ยกลงกรอกใส่ขวดแก้วที่ล้างสะอาด คว่ำให้แห้ง ขณะร้อนอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ถ้ากรอกลงขวดพลาสติก ต้องลดให้อุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียส กรอกให้เต็มขวด ปิดฝาให้สนิท แล้วแช่น้ำเย็นทันที เมื่อขวดเย็น ให้รีบนำเข้าตู้เย็น สามารถเก็บไว้ได้ถึง 14 วัน

หมายเหตุ :

ตะไคร้ ถ้าไม่ใช้สด อาจทำโดยนำตะไคร้ทั้งต้น และใบล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้นๆ นำเข้าตู้อบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นานประมาณ 2 ชั่วโมง ผึ่งไว้ให้เย็น บรรจุใส่ถุงปิดมิดชิด เวลาจะใช้นำมาต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำ ถ้าไม่อบ อาจนำมาคั่วกับกระทะ จนมีกลิ่นหอม นำไปต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำนำไปปรุงรส

คุณค่าทางอาหาร :  มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหาร

คุณค่าทางยา :  แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อได้ดี ช่วยลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตสูง

December 5, 2012

ยาหม่องทำมาจากอะไร

Category: Uncategorized – noum77 11:50 am

ยาหม่องทำมาจากอะไร

ยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ

ในสมัยก่อนเมื่อรู้สึกมีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เคล็ดขัดยอก ผื่นคันจากแมลงกัดต่อย ทุกคนมักจะนึกถึงยาหม่อง ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ ยาหม่องขมิ้นชันเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้มาช้านาน นับเป็นอีกหนึ่งมรดกภูมิปัญญาอัศจรรย์ของการแพทย์แผนไทย

ส่วนผสมของยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ
(ขนาด 500 กรัม)

วาสลินขาว   75 กรัม
การบูร   100 กรัม
เมนทอล   70 กรัม
ขี้ผึ้ง   100 กรัม
น้ำมันสะระแหน่   80 กรัม
น้ำมันกานพลู   5 กรัม
น้ำมันเขียว   65 กรัม
สารสกัดขมิ้นชัน   5 กรัม
วิธีทำยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ

นำหม้อแสตนเลสสตีล ใส่วาสลินและขี้ผึ้งลงไป วางหม้อวาสลินลงในหม้ออีกใบที่ใหญ่กว่า ทำการตุ๋นด้วยความร้อนจากหม้อใบใหญ่ที่ใส่น้ำ ใช้ไฟกลาง ๆ กวนให้เข้ากัน ห้ามใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
หลังจากวาสลินและขี้ผึ้งละลายหมดแล้ว ให้ยกลงจาดเตา ใส่น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันกานพลู น้ำมันเขียว เมนทอล และการบูร ผสมกันทั้งหมดคนให้เข้ากันดี
เติมสารสกัดขมิ้นชัน คนให้เข้ากันอีกครั้ง
นำส่วนผสมที่ได้เทใส่ขวดที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปิดฝา
สรรพคุณของยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ
บรรเทาอาการวิงเวียน ดมแก้หวัด ใช้ทาแก้ผื่นคันจากแมลงกัดต่อย รักษากลากเกลื้อน ใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เคล็ดขัดยอก

• หมายเหตุ
วิธีการสกัดขมิ้นชัน
นำขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม ล้างให้สะอาดปั่นให้ละเอียด นำไปหมักในแอลกอฮอล์หรือเหล้าขาว 1 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน พอครบก็กรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำ จากนั้นก็เอาตัวยาไประเหยให้แห้งโดยนำไปตั้งบนหม้ออังไอน้ำ จนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำยา ก็จะได้สารสกัดขมิ้นชันเข้มข้นพร้อมใช้ทำยาหม่อง

เรียบเรียงสูตรและวิธีการทำ
ยาหม่องขมิ้นชัน ตำรับโบราณ
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com

November 29, 2012

ประโยชน์ของเห็ดชนิดต่างๆ

Category: Uncategorized – noum77 3:43 am

ประโยชน์ของเห็ดชนิดต่างๆ

  1. เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2สูงพอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัดชาวจีนยกให้้เห็ดหอมเป็็นอาหารต้้นตำรับ “อมตะ”
  2. เห็ดหูหนู  เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่าง กายดี ขึ้น รว มทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาวช่วยบำรุงปอดและไต
  3. เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญ เช่น เบต้ากลูแคนซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง
  4. เห็ดกระดุม หรือ เห็ดแชมปิญองรูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มี ให้เลือกทั้งแบบสด หรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้อง กันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่ สุดโดยสารบางอย่างในเห็ด นี้จะไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  เมื่อร่างกาย ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
  5. เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าและเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ในตระกูลเดียวกัน เจ ริญเติบโตเป็นช่อ ๆคล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำ และเนื้อเหนียวหนานุ่ม อร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัดช่วยการไหลเวียนของเลือด และโรคกระเพาะ
  6. เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าว ชื้น ๆ โคน มี สีขาว ส่วนหมวกมีสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้ วิตามินซีสูง และ มีกรดอะ มิโนสำคัญอยู่หลายชนิดหากรับประทาน เป็นประจำจะช่วยเสริม ภูมิคุ้มกันการ ติดเชื้อต่างๆ อีก ทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
  7. เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดสีขาวหัวเล็ก ๆ ขึ้นติดกัน เป็นแพ รส ชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใ ส่ กับสลัด ผักก็ ได้ ถ้าชอบสุกก็ นำ ไปย่าง ผัดหรือลวกแบบ สุกี้ ถ้ากินเป็นประจำ จะช่วยรักษาโรคตับโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  8. เห็ดโคน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิดแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่า น้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่นเชื้อไทฟอยด์
เห็ดที่นักวิทยาศาสตร์นิยมเอามาวิเคราะห์ว่ามีสรรพคุณทางยานั้นส่วนใหญ่เป็นเห็ด ชนิดที่คนมักนำมาปรุงอาหารและหาได้ง่าย เช่น เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าเห็ดฟาง เห็ดโคน เห็ดหูหนู และ เห็ดหลินจือ อีกทั้งผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าเห็ดแชมปิญอง มีบทบาทช่วยในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด เมื่อเทียบกับเห็ดรับประทานได้ชนิดอื่นๆโดยสารบางอย่างในเห็ดชนิดนี้ไปช่วย ยับยั้งเอ็นไซม์ aromatase ทำให้เกิดการยับยั้งการแปรฮอร์โมนแอนโดรเจนให้กลายเป็นเอสโตรเจนในผู้หญิง วัยหมด ประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย และในประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองนำเห็ดหอมมาสกัด พบว่าในเห็ดหอม ให้น้ำตาลโมเลกุลขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า เบต้ากลูแคน ถึง 2 ชนิดได้แก่ lentinan และ LEM (Lenti nula edodes mycelium) ซึ่งช่วยทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อ และชะลอการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งในการทดลองให้สาร lentinan กับผู้ป่วยมะเร็งร่วมกับการทำเคมีบำบัดก็พบว่าก้อนมะเร็งมีขนาดลดลง และอาการข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดก็เกิดขึ้นน้อยลงด้วย เห็นความอัศจรรย์ของพืชตระกูลต่ำหรือยังคะ ไม่ได้ด้อยประโยชน์เหมือนทีโดนกล่าวหาเลย
ที่มา http://www.meedee.net/magazine/med/foods-security/1550

November 27, 2012

สมุนไพรที่นิยมนำมาทำอาหาร

Category: Uncategorized – noum77 8:50 am

สมุนไพรที่นิยมนำมาทำอาหาร

อาหารไทยมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการผสมผสานทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยาเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพสูงสุดทั้งในแง่การป้องกันและการบำรุงรักษา ในปัจจุจบันอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมระดับนานาชาติ มีร้านอาหารไทยจำนวนมากเปิดในเมืองใหญ่ต่างประเทศ เช่น ลอสแอนเจลลิสและนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษและเมืองต่างๆ อีกมากมาย

กรรมวิธีในการจัดเตรียม ประกอบ ตกแต่งอาหารไทยให้อร่อยต้องเริ่มต้นด้วยความพิถีพิถันในการเลือกซื้อเครื่องปรุงที่สดใหม่ จัดเก็บเพื่อรอนำไปประกอบอาหารด้วยวิธีที่ถูกต้อง วัตถุดิบในส่วนของพืชผักและสมุนไพรที่ใช้ในการทำอาหารไทยมีหลากหลายประเภทและพืชผักสมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหารซึ่งพืชผักและสมุนไพรไทยที่เป็นเครื่องปรุงหลักๆ มีดังต่อไปนี้

ใบกระเพรา

ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ใบสดมีน้ำมันหอมระเหยเป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง นอกยังมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดน้ำตาล ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันและความดันโลหิตสูง

ไม่เฉพาะแต่คนไทยเท่านั้นที่รู้จักรับประทานใบกะเพราเป็นอาหารและยา ชาวเอเชียทุกชาติก็รู้จักใบกะเพราและบางชาติก็รู้จักใช้ประโยชน์จากใบกระเพราด้วย อย่างเช่นชาวอินเดียที่บูชาใบกระเพราเป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ตั้งชื่อให้ว่า โฮลลี่ เบซิลและยังใช้สมุนไพรตัวนี้ปรุงอาหารประจำวัน ซึ่งก็ไม่ต่างกับคนไทยที่อาศัยกลิ่นและรสของใบกระเพราดับกลิ่นคาวและชูรส

อบเชย

ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ทำให้ท้องเป็นปกติดี ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ย่อยไขมัน แก้อ่อนเพลีย มีสารต้านแบคทีเรียและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน
นิยมใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกระหรี่ประเภทผัด ใช้เป็นไส้กระหรี่ปั๊ปหรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรลล์ ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นมและนอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่งและยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย

พริกขี้หนู

ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: บรรเทาอาการไข้หวัดและการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดการอุดตันของหลอดเลือด ลดปริมาณสารโคเลสเตอรอล บรรเทาอาการเจ็บปวด
พริกขี้หนูโดยปกติผลมักชี้ขึ้น มีลักษณะทั้งแบนๆ กลมยาวจนถึงพองอ้วนสั้น ขนาดของผลมีตั้งแต่ขนาดผลเล็กไปจนกระทั่งมีผลขนาดใหญ่ ผลแก่มีรสเผ็ดจัด ในการนำมาประกอบอาหารสามารถใช้ได้ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง พริกป่นหรือนำมาดองกับน้ำส้ม พริกเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำพริกแกง ใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเผ็ดตามต้องการในอาหารไทยทุกประเภท

พริกชี้ฟ้า

ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: พริกชี้ฟ้าทำให้เจริญาอาหาร ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น แก้หวัด ขับลม ช่วยสูบฉีดโลหิต บำรุงธาตุ และยังมีวิตามินเอสูง ซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระอันก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

November 26, 2012

กะเพรามีสรรพคุณเป็นสมุนไพร

Category: Uncategorized – noum77 8:42 am

กะเพรามีสรรพคุณเป็นสมุนไพร

พูดก็พูดนะครับ อาหารไทยเรานี่จัดว่าเป็นยา มากกว่าอาหารที่ใดในโลกก็ว่าได้นะครับลองคิดดูนะครับ ใบกะเพราะใครจะไปคิดว่ามีประโยชน์ขนาดนี้หละครับ
 

กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum) เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 – 60 ซม. นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว
กะเพรามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กอมก้อ (เชียงใหม่) กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขน (กลาง) กะเพราขาว (กลาง) กะเพราแดง (กลาง) ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) และ อีตู่ไทย (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
สรรพคุณกะเพรา
ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับลม
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ[
น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม
กะเพราลดน้ำตาลและไขมัน
ข้าวผัดกระเพรา เป็นอาหารที่ทุกคนมักจะรู้จัก และคุ้นเคยอย่างดี สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเป็น อาหารที่ปรุงง่าย ไม่มีพิธีรีตองอะไรมากมายแถมรสชาติก็อร่อย
         นอกจากจะมีกลิ่นหองเฉพาะตัว ยังมีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น ใบสดของกะเพรามีน้ำมัน หอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และmethyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อปวด ท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้มให้ เดือด แล้วกรองเอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับ น้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่ เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย
         สำหรับ ใบแห้ง ใช้ชงดื่มกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ ได้นาน 2 ชั่วโมง เมล็ดกะเพรา เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผงหรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาของเราช้ำ รากกะเพรา ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ ทั้งนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า กะเพรา มีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันได้
ข้อมูลจาก
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

November 24, 2012

มะพร้าวมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรทางยา

Category: Uncategorized – noum77 4:49 am

มะพร้าวมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรทางยา

สรรพคุณของมะพร้าว

- ธรรมชาติบำบัดถือว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำผลไม้ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งมีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการครบถ้วน มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ภายใน 5 นาที และยังเป็นประโยชน์ในการขับสารพิษและชำระล้างร่างกายด้วย

- มะพร้าวมีลำต้นสูง ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่าง ๆ ของลำต้นมะพร้าวกว่าจะถึงลูกมะพร้าวที่อยู่ข้างบน น้ำมะพร้าวที่ได้มาจึงบริสุทธิ์มาก น้ำมะพร้าวหรือเนื้อมะพร้าวเป็นอาหารที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งเพราะบริสุทธิ์และเต็มไปด้วยกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม ฯลฯ

- มะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีด่างสูง น้ำมะพร้าวและกะทิสามารถรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไปได้ คนไทยถือกันว่า มะพร้าวเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ ส่วนคนจีนเชื่อว่า มะพร้าวมีฤทธิ์เป็นกลางไม่เป็นทั้งหยินและหยางมีสรรพคุณในการขับพยาธิ

- สำหรับคนไข้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกันให้ดื่มแต่น้ำมะพร้าวอย่าให้ทานอย่างอื่น เพราะร่างกายจะดูดซึมกลูโคสไปใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

- แม่ที่เพิ่งคลอดบุตรไม่มีน้ำนมเพียงพอให้ลูกกินสามารถให้น้ำมะพร้าวเสริมน้ำนมแม่ได้ เพราะมีความบริสุทธ์กว่านมผงหรือนมวัว ไม่มีสารเคมีเจือปนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็ก ถ้าผู้หญิงคนไหนที่เป็นสิวหรือมีรอบเดือนติดต่อกันไม่หยุดให้กินแต่น้ำมะพร้าวอย่างเดียวครั้งที่ดื่มอาการเหล่านั้นอาจจะเพิ่มขึ้นแต่ก็เป็นสิ่งดีเพราะร่างกายถูกกระตุ้นให้ขับของเสียออกมา

- น้ำมะพร้าวดื่มได้ทุกวัน ทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติ นอกจากจะมีประโยชน์แล้วยังทำให้ร่างกายสดชื่นไม่เป็นอันตรายเหมือนน้ำอัดลม อย่างไรก็ตามคนเป็นโรคไตและโรคเบาหวานไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าว

- น้ำมะพร้าวเปิดลูกแล้วควรดื่มเลยไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าเราตัดหรือหั่นผลไม้อย่าทิ้งไว้เกินครึ่งชั่วโมงแม้จะเก็บในตู้เย็นก็ตามควรกินให้หมดทีเดียว ผลไม้แต่ละอย่างมีพลังชีวิตถ้ากินผลไม้สุกจากต้นจะได้รับพลังชีวิตสูง หากเก็บทิ้งค้างไว้พลังชีวิตของผลไม้จะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ

- ปัจจุบันหากต้องการดื่มน้ำมะพร้าวควรต้องระวังเรื่องสารฟอกขาวหากเป็นไปได้ควรซื้อเป็นทะลายมาจากสวนโดยตรง เมื่อต้องการดื่มค่อยตัดทีละลูกจากทะลาย

ประโยชน์ของมะพร้าว

- ในผลมะพร้าวอ่อนจะมีน้ำอยู่ภายในเรียกว่าน้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรคและเป็นสารละลายไอโซโทนิก (สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับภายในเซลล์ ซึ่งไม่ทำให้เซลล์เสียรูปทรง) ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน (หลอดเลือดดำ) ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้

- น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
- เนื้อในของมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
- กากที่เหลือจากการคั้นกะทิยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้

- ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตายด้วยเหตุนี้จึงมักเรียก ยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า “สลัดเจ้าสัว” (millionaire’s salad)

- ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
- น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
- กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
- ก้านใบ หรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
- จั่นมะพร้าว(ช่อดอกมะพร้าว)ให้น้ำตาล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก samunpri เเละ คลิปจาก youtube

November 20, 2012

ดอกไม้มีสรรพคุณทำเป็นสมุนไพร

Category: Uncategorized – noum77 10:27 pm

ดอกไม้มีสรรพคุณทำเป็นสมุนไพร

ดอกไม้ นับวันดอกไม้ไทยก็จะหาดูได้ยาก มีอยู่บางชนิดเท่านั้นที่ยังคงปลูกเอาไว้ เป็นไม้ประดับ บางชนิดเป็นต้นไม้ใหญ่ ต้องปลูกไว้ในสวน ถ้าไม่มีดอกก็ดูไม่ออกว่าเป็นต้นอะไร จึงขอรวบรวมไม้ไทยที่รู้จัก นอกจากจะมีดอกสวยมีกลิ่นหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยารวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นความรู้ให้ประโยชน์กับชีวิตประจำวัน

ดอกกระดังงาไทย เป็นไม้ยืนต้น ใบเขียวและโต ดอกออกเป็นกลีบ ๆ ยาวและอ่อน เกสรกลางแบนสีเขียว ๆ เหลือง กลิ่นหอม ประโยชน์ทางยา ใบและเนื้อไม้ ดอก ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ ดอกปรุงเป็นยาหอมแก้ลม วิงเวียน ชูกำลังทำให้ใจชุ่มชื่น นำดอกมาลนไฟใช้อบขนมไทยให้หอม
ดอกกระถินขาว เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดย่อย ใบเล็กเป็นฝอย ดอกขาวกลมเท่าใบพุทรา ดอกใช้เป็นยาบำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นที่ตา

ดอกขจร เป็นไม้เถาเลื้อย มีสรรพคุณทางยา ใช้รากผสมยาหยอดรักษาตา รับประทานทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้รู้รสอาหาร ดับพิษ ทำอาหาร

ดอกขี้เหล็ก ต้นขี้เหล็กเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ราก ลูก ดอก ใบ รวมกัน รับประทานเป็นยาถ่ายพิษ กษัย พิษ ไข้ พิษเสมหะ เหน็บชา

ดอกข้าวสาร เป็นต้นไม้ปลูกประดับลงดิน กลางแจ้ง ให้เลื้อยพันรั้ว รากใช้ทำยาหยอดตา แก้ตาฝ้า ตามัว ตาแดง เข้ายาถอนพิษ ยาเบื่อเมา ดอกนำมาทำแกงส้มได้

ดอกเข็มขาว เป็นต้นไม้พุ่ม ใช้ดอกใส่พานบูชาพระ ให้ประโยชน์ในทางยา รากมีรสหวาน รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร

ดอกเข็มแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ให้ประโยชน์ทางยา รากแก้เสมหะ แก้กำเดา บำรุงไฟธาตุ แก้บวม แก้ตาพิการ ดอกนำมาชุปแป้งทอดเป็นเหมือดในขนมจีนน้ำพริก

ดอกแค เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ใบเล็กกลมยาวเป็นคู่ ๆ ดอกคล้ายดอกถั่ว ใช้ดอกใบ เปลือก ราก เป็นยา ดอกนำมาต้มจิ้มน้ำพริก ทำแกงส้ม ประโยชน์ในทางยา เปลือกนำมาต้ม คั้นน้ำ แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด คุมธาตุ

ดอกการะเกด เป็นพวกเตย ลำเจียก มีดอกพุ่มแลบออกมาตามกลีบต้น

ดอกกาหลง ดอกขาวใหญ่ ขนาด 5-8 ซ.ม. ดอกเป็นช่อแบน ช่อละ 3-10 ดอก กลิ่นหอมเย็น ดอกใช้แก้ปวดศรีษะ ลดความดันโลหิต แก้โรคโลหิตออกตามไรฟัน แก้เสมหะพิการ

ดอกกรรณิการ์ ดอกสีขาวคล้ายดอกพุดฝรั่ง ออกเป็นช่อ ก้านดอกสีแดง สีส้ม สีจากก้านดอกคั้นเอาน้ำไปทำสีขนม และย้อมผ้าได้ ต้มดื่มแก้ปวดศรีษะ ใบใช้บำรุงน้ำดี ดอกใช้แก้ไข้ แก้ลม แก้ผมหงอก น้ำที่ต้มดอกกรรณิการ์ อาบบำรุงผิวหนังให้สดชื่น ต้นและราก มีรสหวานและฝาด ต้มหรือฝนผสมน้ำสำหรับจิบแก้ไอ

ดอกแก้ว ดอกเล็กสีขาวสะอาด มีกลีบ 5 กลีบ เกสรสีขาวปนเหลืองหอม กลิ่นแรง ผลคล้ายมะแว้งลูกเขื่อง ๆ เป็นยาขับประจำเดือน เรียกว่ายาประสะใบแก้ว ใช้เป็นยาแก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ผายลม บำรุงโลหิต
ดอกกฤษณา ดอกใหญ่เป็นช่อ ดอกมีกลิ่นหอม บำรุงโลหิต หัวใจ ทำให้ตับและปอดเป็นปกติ ใช้เป็นเครื่องปรุงยาหอม แก้ลม หน้ามือวิงเวียน ผสมเครื่องหอมทุกชนิด เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนัง

ดอกคัดเค้า มีสรรพคุณในทางยา มีรสฝาด แก้โลหิตเป็นพิษ และขับเสมหะ แก้ไข้ ใช้ใบแก้โลหิตซ่าน ดอกแก้โลหิตในกองกำเดา ผลใช้ขับโลหิต ประจำเดือน ต้นใช้บำรุงโลหิต รากแก้วต้ม แก้โลหิตออกตามไรฟัน ผลใช้ต้มดื่ม ขับฟอกโลหิตเน่าเสียของสตรี และใช้เป็นยาบำรุงโลหิต

ดอกบัวหลวง มีทั้งสีชมพูและสีขาว ใช้บูชาพระ เมล็ดทั้งอ่อนและแก่รับประทานได้ เมล็ดบัวทำอาหารทั้งของหวานและของคาว เมล็ดบัวแก่จัดนำมาทำแป้งขนม รากและเหง้า เอามาต้มน้ำดื่ม แก้ร้อนใน ในทางยา ใช้เกสรเหง้า และเมล็ดบัวเป็นเครื่องสมุนไพร เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง
ดอกลำเจียก ดอกโตมีเกสรอยู่กลางรอบนอก คล้ายใบอ่อน มีสีขาวหุ้มอยู่ มีกลิ่นหอมเย็น มีชื่อเรียกลำจวน รัญจวน ปาหนัน ใบไม้จำพวกเตยใบใหญ่ รากแก้พิษไข้ พิษเสมหะ พิษโลหิต ขับปัสสาวะ หนองใน มุตกิด แก้นิ่ว

ดอกเล็บมือนาง มี 3 สี ขาว ชมพู และแดง ใบและต้นขับพยาธิ ตาน ทราง ผล รับประทานทำให้หายสะอึก รากปรุงเป็นยาขับไส้เดือน แก้อุจจาระเป็นฟอง และโลหิตขาวมีกลิ่นเหม็นคาว ใบใช้โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำชโลมทาแผล ฆ่าเชื้อโรคสำหรับเด็ก นิยมปลูกริมรั้วเพื่อดูดอกสวย

ดอกสารภี ดอกเป็นช่อมีกลิ่น สีขาว เกสรสีเหลือง ใช้ดอกปรุงเป็นยาหอม แต่กลิ่นเป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น เป็นยาชูกำลัง

ดอกเบญจมาศ กลีบดอกเป็นฝอย มีหลายสี ทั้งดอกขนาดใหญ่และขนาดเล็ก นำมาตากแห้ง ใช้ชงน้ำ มีกลิ่นหอม ดื่มแก้กระหายน้ำ คล้ายดอกไม้ที่คนจีนเรียกเก๊กฮวย

ดอกประยงค์ ดอกกลมเล็กคล้ายเมล็ดไข่ปลา หรือสาคู มีสีเหลืองสดมีกลิ่นหอมแรง รากใช้เป็นยา ทำให้อาเจียน ถอนพิษ เมื่อมีอาการเมา

ดอกจำปา ดอกเป็นกลีบยาว สีเหลืองจัด สีส้มหรือสีแดง มีกลิ่นหอม ดอกมีรสขม เปลือก ราก ใช้รักษาโรคเรื้อน หิด ฝีที่มีหนอง ดอกและเมล็ดใช้ทำยาแก้ไข้ แก้โรคธาตุเสีย คลื่นเหียน อาเจียน วิงเวียนศรีษะ
ดอกสร้อยฟ้า หรือดอกสร้อยอินทนิล เป็นดอกสีฟ้า เป็นดอกสีฟ้า เป็นไม้เถาออกดอกเป็นช่อย้อย
ดอกวัลย์ชาลี หรือวัลย์ชาลี ชิงช้าชาลี ดอกสีเหลืองเป็นช่อเล็ก ๆ สกุลเดียวกับบอระเพ็ด ต้นมีรสขม แก้ฝีดาษ แก้ไข้เหลือง แก้ฝีกาฬ แก้ไข้ บำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ เจริญอาหาร ใบฆ่าพยาธิ แก้มะเร็ง ดอกใช้ขับพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู ใบสดนำมาต่ำพอกฝี ทำให้เย็น แก้ปวด ถอนพิษ ดับพิษทั้งปวง แก้กระหายน้ำ ขับน้ำย่อยอาหาร

ดอกตาเสือ หรือมะหัวกาน (พยัพ) ดอกมีสีเหลืองคล้ายดอกประยงค์ มีกลิ่นหอม ไม้ตาเสือมีรสฝาด เปลือกใช้แก้พิษเสมหะ และขับโลหิต ผลใช้แก้ปวดตามข้อ ใบใช้ แก้บวม

ดอกบานเย็น ลักษณะดอกยาว เป็นปากแตรเล็ก มีสีเหลืองแดงและขาว บานตอนเย็น ดอกขยี้ทาหน้าแก้สิว บานเย็นดอกขาวใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว ชาวจีนเรียก ตีต้าเช้า ปรุงเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ระงับความร้อน

ดอกพิกุล ดอกเล็ก ๆ มีสีขาวสะอาดตา ริมดอกหยัก บานเวลาใกล้รุ่ง มีกลิ่นหอมแรง ทนทาน แม้ดอกจะเหี่ยวแห้งแล้ว ดอกแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอด ทั้งปี ใช้ปรุงเครื่องหอมอบผ้า

ดอกนางนวล ดอกมีสีแดงแกมขาว ลูกเป็นหนามเหนียว ใบต้มเป็นยา จิบแก้ไอ ดับพิษเสมหะ รากเป็นยาถอนพิษ แก้ไข้ ต้นและใบเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ

ดอกนางแย้ม ดอกสีขาว ซ้อนหลายชั้น กลีบดอกสีม่วง มีกลิ่นหอมแรง รากใช้แก้พิษ ฝีภายใน ขับปัสสาวะ แก้โรคลำไส้ ไตพิการ

November 19, 2012

สมุนไพรแก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

Category: Uncategorized – noum77 7:58 am

สมุนไพรแก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของชะอม

อีกหนึ่งผักดี ๆ ที่อยากจะแนะนำและจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยอีกด้วยนั้นคือ ชะอม นั่นเองค่ะ และเราก็มาพร้อมกับสาระน่ารู้กันอีกเช่นเคยกับ สรรพคุณของชะอมและประโยชน์ของชะอม หลายคนที่ชอบกินน้ำพริกกระปิน่าจะชอบชะอมนะ ทำไมต้องชอบชะอมนั่นเหรอค่ะ ก็ไข่เจียวชะอมไงกินคู่กับน้ำพริกกะปิอร่อยมากมายเลยทีเดียวค่ะ แต่ สรรพคุณของชะอม และ ประโยชน์ของชะอม ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้เพราะมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรก็ช่วยให้เรื่องของการรักษาสุขภาพและรักษาโรคได้อีกด้วย นั้นเราอย่ารอช้ามาดู สรรพคุณของชะอม และ ประโยชน์ของชะอม กันเลยดีกว่า

 

สรรพคุณ / ประโยชน์ของชะอม
คุณค่าทางอาหารของชะอม

ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม 100 กรัมให้พลังงานกับสุขภาพ 57 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของชะอม

ส่วนที่เป็นผักฤดูกาล “ยอดอ่อนใบอ่อน” เป็นไม้ที่ออกยอดทั้งปีแต่จะออกมากในฤดูฝน ชาวเหนือนิยมรับประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบ้างครั้งทำให้ปวดท้อง การปรุงอาหารชะอมเป็นผักที่รับประทานได้ในทุกภาคของเมืองไทย วิธีการปรุงเป็นอาหารคือรับประทานเป็นผักจิ้มโดยการลวกหรือนึ่งให้สุกหรือใช้ยอดอ่อนใบอ่อนเด็ดเป็นชิ้นสั้น ๆแล้วชุบกับไข่ทอดรับประทาน ร่วมกับน้ำพริกกะปิชาวเหนือรับประทานร่วมกับ ส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ นอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสานยังนิยมนำไปปรุงเป็นแกงเชน ชาวอีสานมักนำไปแกงรวมกับปลา ไก่ เนื้อ กบ เขียด ต้มเป็นอ่อมหรือแกง แกงลาว และ แกงแค ของชาวเหนือเป็นต้น

สรรพคุณของชะอม

ใบอ่อนที่เรามักนำมาประกอบอาหารนั้นก็มีสรรพคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย รากแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกอ่อนนั้นไม่ควรกินชะอมเพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง

- ราก แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ่อ ขับลมในลำใส
- แก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก the-than ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

Free Web Hosting